top of page
  • zengubonsai

ความเป็นมาของ"ตะเกียงหิน"ในญี่ปุ่น



ตะเกียงหิน Tōrō 灯籠 เป็นตะเกียงแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ผลิตจากวัสดุหลากหลาย มีทั้ง หิน ไม้ และโลหะ เช่นเดียวกับองค์ประกอบอื่นๆในสวนญี่ปุ่น ตะเกียงหินองก็มีต้นกำเนิดมาจากในประเทศจีน ซึ่งยังพบได้ในวัดพุทธและสวนจีนต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น. Tōrō 灯籠 แต่เดิมนั้นถูกใช้ในวัดพุทธ ซึ่งจะถูกตั้งเป็นแนวเพื่อใช้ส่องสว่างทางเดินไปวัดให้มีแสงสว่าง และจุดเพื่อสักการะพระพุทธเจ้าในช่วงยุคนั้นเฮอัน(ค.ศ.794-1185) ตั้งแต่ยุคเฮอัน อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้ถูกใช้ในศาลเจ้าชินโต และบ้านส่วนบุคคลมาเลื่อยๆ


ตะเกียงญี่ปุ่นที่ทำจากทองเหลืองและหิน ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดถูกพบใน เมืองนารา Taima-dera มีตะเกียงหินที่ถูกสร้างขึ้นในยุค นารา ในขณะที่ Kasuga Taisha มีตะเกียงที่ถูกสร้างขึ้นในยุค เฮอัน และในยุค Azuchi Momoyama (ค.ศ.1568-1600) ตะเกียงหินเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่อาจารย์นักชงชาพัฒนา เพื่อประดับตกแต่งสวนชงชง ตะเกียงญี่ปุ่น Tōrō 灯籠 จะถูกแบ่งเป็นสองชนิดหลักๆเลย คือ Tsusi-Doro หรือตะเกียงแขวน มักจะถูกแขวนจากชายคา หรือต้นไม้ และ Dai-Doro หรือตะเกียงตั้งพื้น ซึ่งมักจะถูกว่างไว้บนพื้นตามทางเดินให้แสงสว่าง ทั้งสองชนิดมักถูกสร้างด้วยวัสดุหลักๆคือ จากทองเหลือง หรือหิน เป็นต้นตะเกียงญี่ปุ่น นั้นถือว่าตะเกียงที่วางพื้น Dai-doro เกือบทั้งหมดถูกสร้างจากหิน ซึ่งในกรณีนี้จะมีชื่อเรียกว่า ishi-doro



โครงสร้างของตะเกียงญี่ปุ่น แบบดั้งเดิมจะมีดังนี้

A. Hoju หรือ Hoshu (หรือเรียกว่าส่วนอัญมณี) ส่วนยอดมีลักษณะเหมือนหัวหอม

B. Ukebana (หรือเรียกอีกอย่างว่าฐานดอกไม้) ฐานรองรับยอดทรงดอกบัวมีหน้าที่ไว้รองรับ Hoshu

C. Kasa (หรือเรียกอีกอย่างว่าร่ม) ชิ้นส่วนทรงคล้ายหมวกปีกกว้างนี้จะกว้างออกทั่วทั้งส่วนของที่ให้แสงเพื่อป้องกันฝนและหิมะ

D. Hibukuro (หรือเรียกอีกอย่างว่า กล่องไฟ) ในส่วนนี้จะเป็นกล่องที่ไว้จุดไฟให้สว่าง

E. Chudai (หรือเรียกอีกอย่างว่าส่วนฐาน) ส่วนนี้จะเป็นฐาน รองรับกล่องไฟ

F. Sao ขาตั้ง ส่วนของขาตั้งจะมีทั้งแบบเหลี่ยม และแบบกลม มีหลายขาสร้างขึ้นตามแบบของ

 ก้านฐานดอกบัว มีตั้งแต่ 1 - 4 ขา (ส่วนนี้จะไม่มีในตะเกียงแขวน)

Kiso ฐานที่ตั้ง ฐานที่ตั้งส่วนใหญ่แล้วจะสร้างไม่กลมก็หกเหลี่ยม (ส่วนนี้จะไม่มีในตะเกียงฝัง)

Kidan รากฐานชั้นล่าง ในบางกรณีจะมีเป็นส่วนของหินที่ปรับให้เรียบเพื่อเป็นรากฐานใต้ฐานอีกที



สุดท้ายแล้วการจัดวางตะเกียงหินนั้นต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกันทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นระหว่างที่ช่วงเวลาและมิติในการมองเห็น เพื่อให้ความสัมพันธ์ลงตัว จะทำให้ดึงเอาเสน่ห์อันโดดเด่นของสวนเซนแบบญี่ปุ่นออกมา การค่อยๆสัมผัสความรู้สึก จะเปิดเผยการรับรู้ในส่วนต่างๆของสวนเซน ช่วงเวลานั้นอารมณ์ความรู้สึกจะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของที่ว่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละมุม สวนเซนจะก่อให้เกิดปฏิกิริยากับทุกประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยสื่อผ่านสีรูปทรงเส้นสายผิวสัมผัสของหินทรายก้อนกรวด ไปจนถึงกลิ่นสัมผัสต้นสนและเกสรดอกไม้อันอ่อนละมุน

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page