(Granite) มักถูกนำมาใช้เป็นวัสดุหลักเพื่อสร้างงานสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอก และอาคารสิ่งปลูกสร้าง ปัจจุบันหินแกรนิตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งภายในบ้าน ทั้งในรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ไม่น่าเชื่อว่าจากหินธรรมดาๆ เมื่อนำมาแปรรูปจะกลายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มักจะปรากฏอยู่รอบตัวของเราเสมอ แล้วคุณเคยทราบไหมว่าเรื่องราวของหินที่แสนธรรมดาแต่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคุณอย่างหินแกรนิตนั้น มีความเป็นมาอย่างไร และอะไรที่ทำให้หินชนิดนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ประเภทหินอัคนีแทรกซอน
จะมีลักษณะ เป็นหินที่มีเนื้อหยาบหรือเป็นดอก มีผลึกเกาะ กันแน่นเห็นได้ชัดเจนมาก
โดยทั่วไปนั้นเป็นหินสีจางๆ เพราะมีแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่พวกเฟลด์สปาร์ และควอร์ตซ์
เมื่อทุบดูจะเห็นผิวหน้าที่ขรุขระ ได้เห็นชัดเจน
ส่วนประกอบ แร่ที่สาคัญคือ แร่ควอร์ตซ์ ประมาณ30% แร่เฟลด์สปาร์ ประมาณ60%
แร่สีเข้มประมาณ (ฮอร์นเบลนด์ ไบโอไทต์ ทัวร์มาลีน) ประมาณ 10%
ประโยชน์ ตัดเป็นแผ่นเรียบขัดมันท าเป็นหินปู พื้น บดย่อยและคัดขนาดผลิตเป็นวัสดุ ก่อสร้าง เช่น ส่วนผสมคอนกรีต ท าถนน ท าหินโรยทางรถไฟ หินก้อนใช้แกะสลักท าป้ายต่างๆ ท า อนุสาวรีย์ ท าครก และท าเป็น หินประดับ
ข้อดี ข้อเสียของหินแกรนิต ข้อดี คือ
-มีความแข็งแรง ทนต่อรอยขีดข่วน และสภาพอากาศต่าง ๆ
-ทนกรด ทนด่าง ทนความร้อน
-สามารถติดตั้งได้หลากหลายจุด ทั้งภายในและภายนอก
-ลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
-ราคาเริ่มต้นถูก
ข้อเสีย คือ หน้าหินยังมีรูพรุนอยู่ เพราะยังเป็นหินจากธรรมชาติ ทำให้ต้องมีการเคลือบหน้าหินก่อนการนำไปติดตั้งใช้งาน
จุดเริ่มต้นที่ทมาของหินแกรนิตมาจากหินอัคนี หินที่เกิดจากการหลอมเหลวของลาวาที่เย็นตัวลงจากภูเขาไฟ และเกิดการตกผลึกภายใต้แรงดันมหาศาลใต้เปลือกโลกของเรา จนเกิดหินที่ประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดใหญ่นี้ อย่างหินแกรนิตขึ้น องค์ประกอบของแร่ภายในหินแกรนิตนี้นั้น ประกอบไปด้วย แร่ควอตซ์ ในปริมาณขั้นต่ำอยู่ที่ 20% และแร่เฟลด์สปาร์ 35% ในขณะนี้ยังมีสัดส่วนที่เหลือสามารถเกิดจากแร่ชนิดอื่นอีกด้วย เช่น แร่ไมกา แอมฟิโบล ฮอร์นเบลนด์ หรือไพรอกซีน เป็นต้น จากกระบวนการเย็นตัวของแร่ธาตุเหล่านี้นั้น เป็นเบื้องหลังที่ทำให้หินแกรนิตกลายเป็นหินที่มีความแข็งแรงและคงทนทานมาก
เราสามารถพบหินแกรนิตได้จากทั่วทุกมุมโลกของเรา โดยบางประเทศสามารถพบหินแกรนิตได้ในหลายแห่งที่มีภูเขาไฟ จึงมีตัวเลือกในการนำมาใช้งานได้มากขึ้น เช่น ประเทศอิตาลีและจีนจะพบมากที่สุด สามารถพบหินแกรนิตที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งจะสร้างความพิเศษและความน่าสนใจที่แต่งตากกันในแต่ละพื้นที่ของภูมิภาคต่างๆ
รวมถึงในไทยก็มีเหมืองหินแกรนิตอยู่หลายที่ด้วยเหมือนกัน โดยมักพบอยู่บริเวณตามแนวเขาหรือทิวเขาขนาดใหญ่ในหลายจังหวัดของประเทศไทยที่มีภูเขา โดยมีการแบ่งออกไว้เป็น 3 แนว คือ ปริมณฑลตะวันออก ปริมณฑลตอนกลาง และแนวปริมณฑลตะวันตก แต่ละแนวปริมณฑลจะก็มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันไป ลักษณะธรณีเคมีของ หินแกรนิตก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแนวเช่นกัน โดยหินแกรนิตที่ได้รับความนิยมหลักแล้ว ก็คือหินแกรนิตดำไทย เขาโทน พนมสารคาม แต่ก็ยังมีหินแกรนิตอื่นๆ ฯลฯ ที่สามารถพบได้ในไทยอีกหลายชนิดอีกด้วย
Commentaires