top of page
  • zengubonsai

รั้วไม้ไผ่ในแบบต่างๆ


รั้วไม้ไผ่ ไม่ว่าจะเป็นไผ่ญี่ปุ่น หรือไผ่ไทย ก็สามารถแปลรูปได้หลายๆอย่างที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ไผ่ในการออกแบบบนพื้นฐานรั้วไม้ไผ่ที่ล้อมรอบหรือกั้นพื้นที่ในบ้านหรือสวน ทำหน้าที่พิทักษ์ชีวิตของผู้อยู่อาศัยและทรัพย์สินของเจ้าบ้านซึ่งแต่ก่อนบ้านเรือนของชาวบ้านนั้นล้อมรอบด้วยรั้วไม้ไผ่ ซึ่งส่งผลให้เกิดสถาปัตยกรรมใช้วัสดุจากต้นไม้ไผ่ธรรมชาติมาออกแบบบนพื้นฐานสุนทรียภาพของบ้านเรือนหรือข้าวของเครื่องใช้ก่อนจะแพร่ไปสู่รูปแบบการจัดสวนที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมแบบสุคิยะ และที่สุดแล้วได้พัฒนาจนกลายมาเป็น ‘ทาเคงาคิ’ หรือรั้วไม้ไผ่ทาเคงาคิ คือ รั้ว (คาคิเนะ) ที่สร้างขึ้นจากไม้ไผ่ (ทาเคะ) ซึ่งยังคงใช้ตกแต่งสวนและล้อมรั้วอาคารบ้านเรือนในญี่ปุ่นและของใช้อื่นๆอีกมากว่าพันปีตราบจนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปแบบหลากหลายถึง 20 แบบที่ใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ เช่น


รั้วไม้ไผ่แบบทาเคะเอดะ ริเคียวงาคิ ( 竹枝離宮垣 ) 

รั้วไม้ไผ่ที่พบที่ตำหนักคัศสึระ (Katsura Rikyū) ในเมืองโตเกียว นั้นขึ้นชื่อในความงามของสวนสำหรับการรับชมพระจันทร์ เนื่องจากนั้น คัตสึระ คือชื่อต้นไม้วิเศษตามนิทานพื้นบ้านรั้วไม้ไผ่แบบนี้จัดวางซีกไม่ตามแนวนอนและประกบด้วยซีกไผในแนวขวางที่ผูกเงื่อนตามข้อต่างไผ่หลากสายพันธุ์ให้ลักษณะปล้อง สี ขนาดไผ่ที่แตกต่างกัน ลองนำความต่างเหล่านี้มาจัดวางรวมกัน ก็จะได้รั้วกั้นพื้นที่สวยเรียบง่ายดูสบายตาให้สวนดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้นรั้วล้อมแปลงดอกทำจากไม้ไผ่พันเดี่ยวด้วยสายไฟ ความงามง่าย ๆ ที่น่าประทับใจก็เกิดขึ้นได้แล้วรูปแบบรั้วซึ่งได้สร้างรั้วต้นแบบไว้ที่แห่งนี้ จุดเด่นอยู่ที่การขัดซีกไผ่เป็นทรงเพชรโปร่งโดยขอบด้านหนึ่งดัดไม้ไผ่ให้โค้งเป็นพระจันทร์ครึ่งดวง สะท้อนว่าธรรมชาตินั้นมีทั้งความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นในหนึ่งเดียว 


รั้วไม้ไผ่แบบโคเฮ็ตสึจิงาคิ ( 竹枝離宮垣 )

รูปแบบรั้วแต่งสวนที่พบในวัดโคเอ็ตสึจิที่เกียวโต ซึ่งได้สร้างรั้วต้นแบบไว้ที่แห่งนี้ จะใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นรั้วบ้าน ฉากกัั้น รั้วสวน หรือแม้แต่ราวระเบียงก็สวย ถ้าออกแบบได้ดียังมีความแข็งแรงทนทานสูงอีกด้วยจุดเด่นอยู่ที่การขัดซีกไผ่เป็นทรงเพชรโปร่งโดยขอบด้านหนึ่งดัดไม้ไผ่ให้โค้งเป็นพระจันทร์ครึ่งดวง สะท้อนว่าธรรมชาตินั้นมีทั้งความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นในหนึ่งเดียวรั้วไม้ไผ่แบบนี้ยังคงมีสำนักช่างไม้ต่างๆ ในญี่ปุ่นที่รับทำรั้วแบบนี้อยู่และยังคงสืบสานกรรมวิธีทำรั้วไม้ด้วยมือแบบดั้งเดิมมีทั้งรั้วยาว 2-3เมตรที่ใช้ตกแต่งสวนเล็กๆ ไปจนถึงรั้วไม้ไผ่ยาวหลายสิบเมตรในกรุงเกียวโตตามถ่ายคลิปการสร้างสรรค์รั้วไม้ไผ่ญี่ปุ่นแบบอื่นๆให้คนทั่วโลกได้ชื่นชมศิลปะการรั้วไม้ไผ่แบบญี่ปุ่นโบราณอายุกว่าพันปีไว้ที่ 


รั้วไม้ไผ่ไม้เคยหาได้ทั่วไปในประเทศไทยและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เพราะอายุการใช้งานของตัวไม้ไม่ค่อยยืนนานนัก ทำให้ไม้ไผ่ถูกลดความนิยมไปมากทีเดียวค่ะ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการรักษาเนื้อไม้ให้ทนทานแดดฝน ปลวก มอดได้มากขึ้น จึงเริ่มมีความนิยมนำกลับมาใช้ตกแต่งบ้านและกันอีกครั้งต้องยอมรับจริงๆ ค่ะว่ารูปร่างของไผ่และการใช้งานที่ดัดเป็นรูปร่างได้ง่าย ทำให้ไผ่เป็นชนิดพืชที่นำมาใช้งานได้ดีมากค่ะ


1. ใช้หน่อไม้เป็นอาหาร ได้ซึ้่งเป็นแหล่งอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เช่นเหล้ก และสังกะสีเป็นต้น

2. การใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยการจัดสวนเครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ

3. การผลิตแปรรูปไม้ไผ่ และการขนส่งเครื่องแปรรูปต่างๆ เช่น ตะกร้าใส่ของถาดไม้ไผ่สาน กระเช้า ผนังบ้านนา ตะแคร่ไม้ไผ่ กระปุกออนสิน โคมไฟ ต่างๆอีกหลากหลาย

4. พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ทำรายได้ให้แก่ประเทศ


ประโยชน์จากไม้ไผ่นั้นมีอีกมากมาย นอกจากนั้นไผ่ยังมีความสำคัญต่อวิถีของชุมชนในแง่ของพิธีกรรมบางอย่างด้วย ซึ่งความหลากหลายของไผ่ในแต่ละพื้นที่นอกจากจะผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติแล้วยังต้องผ่านการคัดเลือกโดยสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงการให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ทำให้ไผ่บางชนิดมีปริมาณที่น้อยลงหรือสูญหายไป จึงนับได้ว่าไผ่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจ-สังคมต่อคนไทยในชนบท ดังนั้น การสำรวจความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไผ่และการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ของชุมชนโดยเฉพาะในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง สามารถใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านเพื่อการใช้ประโยชน์ รวมถึงหาแนวทางในการรักษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไผ่ไว้เป็นไอเดียได้นะคะ

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page