นี่คือสิ่งที่เห็นได้เป็นประจำสำหรับคนที่ไปเที่ยวศาลเจ้าชินโต นอกจากภูเขาไฟฟูจิและดอกซากุระแล้ว สิ่งที่เหมือนเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างของญี่ปุ่นก็คือโทริอิ (Torii) นี่เอง
โทริอิเป็นซุ้มประตูที่เป็นเสาขนาดใหญ่ 1 คู่ ส่วนของด้านบนมีไม้ท่อนขนาดเล็กกว่าวางพาดขวาง 1 คู่ และมักนิยมทาสีแดงชาด เป็นความเชื่อของลัดธิชินโตในศาสนาพุทธที่ตั้งไว้เพื่อให้เป็นที่รู้ว่าหลังเสาโทริอินี้เป็นอาณาเขตของเทพเจ้า มักพบเห็นเสาโทริอิได้ตามศาลเจ้า และสถานที่ที่เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ อย่างเช่นตามป่า ภูเขา ทะเลสาบ
โทริอิ (ญี่ปุ่น: 鳥居; โรมาจิ: Torii, ความหมาย: ที่อยู่ของปักษา) คือซุ้มประตูแบบญี่ปุ่น ตั้งไว้ให้ผู้คนได้รับรู้ว่านี่คือ อาณาเขตเบื้องหลังเสาโทริอินี้เป็นอาณาเขตของเทพเจ้า เพื่อที่ผู้คนจะได้ไม่เผลอกระทำการอันใดที่เป็นการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โทริอิสามารถพบได้ตามศาลเจ้าชินโตตลอดจนวัดพุทธบางแห่ง ซึ่งในแผนที่ของญี่ปุ่น จะใช้สัญลักษณ์โทริอิเป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งศาลเจ้า นอกจากนี้อาจพบโทริอิได้ตามทางเดินและท้องถนนทั่วไป เพื่อบ่งบอกว่าแถวนั้นอาจมีเจ้าที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ หรือแม้แต่ในป่าหรือภูเขาลึกบางแห่งอีกด้วย
เสาโทริอิมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นไม่อาจทราบได้อย่างแน่ชัดนัก บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนถึงโทริอิ ถูกเขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 922 ในประมาณช่วงกลางยุคเฮอัง เป็นโทริอิหินที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน สร้างในศตวรรษที่ 12 เป็นโทริอิของศาลเจ้าฮะชิมังจังหวัดยะมะงะตะในขณะที่โทริอิไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบันและถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1535 เป็นโทริอิของศาลเจ้าคุโบฮะชิมังจังหวัดยะมะนะชิ
เสาโทริอิแบบดั้งเดิมนั้นจะถูกสร้างด้วยไม้หรือหิน แต่ในปัจจุบัน เสาโทริอิบางต้นอาจถูกสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีทั้งแบบทาสีและไม่ทาสี หากทาสี จะทาสีชาดที่ลำต้น และคานด้านบนสุดจะทาด้วยสีดำ ศาลเจ้าฟุชิมิ-อินะริในนครเคียวโตะมีโทริอิมากกว่าพันต้น แต่ละต้นจะจารึกชื่อผู้บริจาค นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าโทริอิมีวิวัฒนาการมาจากซุ้มประตู "โตรณะ" ที่พบในสถาปัตยกรรมอินเดีย
โทริอิ มีความหมายว่า"ที่ของนก"ในญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า นก ถือเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับโลกหลังความตาย ซึ่งความเชื่อนี้อาจจะมาจากบันทึกโบราณ โคจิกิ และ นิฮงโชะกิ ที่กล่าวถึงพิธีศพของ ยะมะโตะ ทะเกะรุ โอรสในจักรพรรดิเคโกในตำนาน ว่าเมื่อทะเกะรุสิ้นชีพิตักษัยแล้ว ได้ปรากฏร่างนกสีขาวและบินไปเลือกสถานที่ฝังศพของตนเอง ด้วยเหตุนี้ สถานที่ฝังศพของเขาจึงถูกเรียกว่า ชิระโทะริ มิซะซะงิ (白鳥陵, สุสานนกสีขาว) หรือศาลเจ้าชิราโทริ
โทริอิมีอยู่หลายแบบสามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆได้แก่ ชิมเม(神明)และเมียวจิน(明神)
ซึ่งแบบที่ง่ายที่สุดคือ ชิเมะโทริอิ หรือ ชูเร็นโทริอิ (注連鳥居)
ตามรูปแบบมาตรฐานทั้วไปของเสาโทริอิ จะมีองค์ประกอบสำคัญ3อย่าง คือ
ฮะชิระ (柱 : hashira) เสาทั้ง 2 ต้น
คาซากิ (笠木 : kasagi) คานไม้หรือเชือกที่ทำจากฟางข้าว วางไว้ด้านบนสุดของฮะชิระ
นูกิ (貫 : nuki) คานไม้ส่วนล่างที่ทำหน้าที่ช่วยรักษาโครงสร้างเสาทั้งหมดเอาไว้ด้วยกัน
นอกจากองค์ประกอบสำคัญทั้ง3อย่าง ยังมีองค์ประกอบย่อยอื่นๆอีก เช่น
ชิมากิ (島木 : shimaki) เป็นคานที่วางไว้ใต้คาซากิ
ไดวะ (大輪 : daiwa) แหวนตกแต่งเสาด้านบน
คุซาบิ (楔 : kusabi) ชิ้นไม้ประดับตกแต่งนูกิ
ท่อนไม้กาคุซุกิ (額束 : gakuzuka) เชื่อมต่อระหว่างคานไม้ด้านบนสุดคาซากิและคานไม้ยึดนูกิ โดยส่วนมากบริเวณนี้จะใช้เป็นที่ติดแผ่นป้ายชื่อศาลเจ้า
นอกจากนี้โทริอิยังนิยมนำมาใช้ในสวนหรือดัดแปลงเป็นสิ่งต่างๆเพื่อใช้ประดับสวนได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ของทาง ZENGU เราทำเป็นม่านน้ำตกเพื่อให้สามารถอยู่ในพื้นที่ที่มีเนื่อที่จำกัดได้และเสริมด้วยกราจัดสวนเล็กๆรอบๆเพื่อทำให้พื้นที่นั้นสวยงามยิ่งขึ้น
Kommentare